เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (2)
[178] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :277 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
สมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งอยู่เฉพาะ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่
ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีจิตไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิใด นี้เป็นสมาธินทรีย์ วิญญาณด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้าเป็นจิต
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ตั้งมั่นหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (3)
[179] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
โมหะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก” สำเหนียก
ว่า “เราเปลื้องจิตจากมานะ ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากทิฏฐิ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจาก
วิจิกิจฉา” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ” ฯลฯ
“เราเปลื้องจิตจากอหิริกะ (ความไม่ละอาย)” ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะหายใจออก” วิญญาณด้วยอำนาจการเปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :278 }